ชื่อภาพยนตร์ : Victoria & Abdul ราชินีและคนสนิท
แนว/ประเภท : Biography, History, Drama
ผู้กำกับภาพยนตร์ : Stephen Frears
บทภาพยนตร์ : Lee Hall , Shrabani Basu
นักแสดง : Judi Dench, Ali Fazal, Tim Pigott-Smith
วันที่ออกฉาย : 15 September 2017
หนังเรื่องนี้ถ่ายถอดให้เราเห็นถึงความสัมพันธ์ในชีวิตจริงระหว่างสมเด็จพระราชินีวิกตอเรียแห่งสหราชอาณาจักรและคนรับใช้ของเธอดุลการิม ซึ่งเป็นชาวมุสลิมอินเดีย
IMDB : tt5816682
คะแนน : 6.8
รับชม : 2627 ครั้ง
เล่น : 924 ครั้ง
เมื่อบทหนังอยู่ในมือสตีเฟน เฟรียรส์ (Stephen Frears) ผู้กำกับ The Queen (2006) ซึ่งบอกเล่าชีวิตราชินีเอลิซาเบธที่ 2ในช่วงวิกฤติศรัทธามาแล้วงานนี้จึงไม่ใช่เรื่องยากสำหรับเขาแต่อย่างใด สำหรับ Victoria and Abdul คราวนี้เฟรียรส์เลือกบอกเล่าเหตุการณ์อื้อฉาวของพระนางวิกตอเรียไปควบคู่การวิพากษ์สังคมชั้นสูงของอังกฤษที่มีท่าทีเหยียดชาติพันธุ์ใต้อาณานิคมตัวเอง ยิ่งเมื่อมีคนอินเดียผิวสีมาเป็นสิ่งแปลกปลอมแถมยังใกล้ชิดพระราชินีจนได้เป็นคนโปรด แต่ในเมื่อเป็นหนังตลกที่เรื่องราวส่วนใหญ่อยู่ในวังบัคกิงแฮม หนังเลยให้เจ้าฟ้าชายอัลเบิร์ตและเจ้าหน้าที่ฝ่ายในกลายเป็นตัวอิจฉาที่วันๆจับผิดความสัมพันธ์ของทั้งคู่ คอยจับกลุ่มนินทาและออกโรงต่อต้านยามพระราชินีทรงมีพระดำริจะปูนบำเหน็จทาสรับใช้ผู้ต่ำต้อย ผลลัพธ์ของมันเลยค่อนข้างออกมาแตกต่างจากที่คาดการณ์ไว้พอสมควร เพราะคราวนี้หนังไม่ได้เลือกข้างความจริงทางประวัติศาสตร์แต่กลับจับเรื่องราวลับๆในวังมาใส่สีสันสร้างเรื่องราวความสัมพันธ์ต่างชนชั้นที่มีกำแพงเชื้อชาติ วัฒนธรรมและศาสนาเป็นประเด็นละเอียดอ่อนเพื่อเพิ่มความน่าเห็นใจให้คนทั้งคู่
ประเด็นศาสนาละเอียดอ่อน.. ซ่อนปม
เฟรียรส์ไม่ได้หยุดแค่การเล่าเรื่องคนแก่เอ็นดูเด็กหนุ่มธรรมดา แต่กลับให้พระนางวิกตอเรียนับถืออับดุลในฐานะ “มุนชี่” หรือ “ครู” ในภาษาอิสลาม แถมยังพยายามให้อับดุลนำแนวคิดศาสนาอิสลามและศิลปะแบบเปอร์เซียเข้ามามีบทบาทในนิวาสสถานของพระราชินี อันนำมาซึ่งแง่มุมน่ารักของอับดุลที่แม้เป็นมุสลิมแต่กลับจุมพิตฝ่าพระบาทของพระราชินีวิกตอเรีย ซึ่งอาจมองแบบผิวเผินโลกสวยอย่างที่หนังอยากให้มองคือการเคารพนับถือดุจญาติผู้ใหญ่หรืออาจตีความในด้านลบถึงความสิเน่หาต่อตัวพระนางก็ได้ยิ่งปฏิกิริยาตอบกลับคือความพึงพอใจเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งถึงแม้อาจจะฟังดูอกุศลแต่คนดูหลายคนก็อดไม่ได้ที่จะคอยลุ้นให้ทั้งคู่สมหวังในความรัก แม้จะต่างด้วยวัย สถานะและโดยเฉพาะอย่างยิ่ง “ศาสนา” ที่ไม่เพียงเป็นกำแพงความสัมพันธ์เท่านั้นแต่ยังใช้เป็นเครื่องมือถ่ายทอดอคติของคนในราชสำนัก ทั้งการเรียกคนอินเดียว่าพวกฮินดูแบบเหมารวม แต่เมื่ออับดุลเปิดเผยว่าตนนับถือศาสนาอิสลามก็กลายเป็นเชื้อไฟหล่อเลี้ยงอคติของเหล่าเจ้าหน้าที่ฝ่ายในและฟ้าชายอัลเบิร์ต ซึ่งแม้หนังจะเล่าในโทนตลกมากกว่าจะเป็นดราม่าเข้มข้น แต่หนังก็ใส่รายละเอียดบางอย่างเพื่อบอกถึงความข่มขื่นในความสัมพันธ์ของคนต่างชนชั้นตั้งแต่บทเพลงโอเปร่าว่าด้วยรักต่างชนชั้นที่จบลงด้วยโศกนาฏกรรมที่เหมือนเป็นลางบอกเหตุถึงปลายทางความสัมพันธ์ครั้งนี้ไปโดยปริยาย
งานสร้างหวังรางวัล
การออกแบบงานสร้างของ อลัน แมคโดนัลด์ (Alan MacDonald)และงานออกแบบเครื่องแต่งกายของ คอนโซเลตา บอยล์ (Consolata Boyle) มีความน่าสนใจหลายส่วนตั้งแต่การนำเสนออินเดียด้วยโทนร้อนทั้งเสื้อผ้าและพร็อพสีสดใส ขัดแย้งกับงานสร้างในวังบัคกิงแฮมที่ทุกอย่างอยู่ในโทนเย็นและสีทึบเพื่อแสดงถึงความแห้งแล้งเย็นชาไร้ชีวิตของราชินีตอนต้นเรื่อง ก่อนเสื้อผ้าของพระองค์จะค่อยๆทวีความสดใสอีกครั้ง ซึ่งจากผลงานอันโดดเด่นนี้น่าจะทำให้ทั้งคู่มีหวังเข้าชิงออสการ์ในปีหน้าอยู่ไม่น้อย ส่วนงานกำกับภาพของ แดนนี โคเฮน (Danny Cohen) ก็มีจุดน่าสนใจหลายจุดโดยเฉพาะฉากปิกนิกที่สก็อตแลนด์ที่ได้โชว์ศักยภาพในการวางเฟรมและจัดองค์ประกอบภาพสื่อความหมายในตัวได้เป็นอย่างดี
Govmovie.org ดูหนังออนไลน์ ดูหนังฟรี อันดับ 1 ของไทย ดูหนังออนไลน์ ดูหนังออนไลน์ฟรี เต็มเรื่อง ตลอด 24 ชั่วโมง